วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Disability Studies

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
           คนตาบอด  หมายถึง  คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียง 
          คนเห็นเลือนราง  หมายถึง  คนที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษร ตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้ 


คนตาบอดมองไม่เห็นแล้วจะใช้ชีวิตกันยังไง
               แน่นอนว่าการใช้ชีวิตแบบมองไม่เห็นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คนตาบอดพิการแค่สายตา ไม่ได้พิการในการใช้ชีวิต การใช้ประสาทสัมผัสอื่นนอกจากดวงตาต่างก็เติมเต็มสิ่งที่ขาดไปได้ในชีวิตได้เป็นอย่างดี

              หู : เสียง มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของคนตาบอดมาก เพราะสามารถช่วยให้คนตาบอดจำแนกสิ่งรอบตัวได้ เช่น แยกแยะบุคคลจากเสียงพูด ช่วยในการทำงาน และเสพสิ่งบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งแท้จริงแล้วคนตาบอดไม่ได้หูดีกว่าคนทั่วไป เพียงแค่ต้องใช้หูในชีวิตประจำวันมากกว่าจึงสังเกตสิ่งต่างๆได้ละเอียดขึ้น 
           จมูก กลิ่น มีความสำคัญกับคนตาบอด เช่น เวลาเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ กลิ่นเฉพาะของสถานที่นั้นจะช่วยบอกตำแหน่ง และช่วยไม่ให้หลงทาง เช่น กลิ่นแอร์ แสดงว่ามีห้างสรรพสินค้าอยู่ไม่ไกล และกลิ่นยังช่วยให้พวกเขาสามารถแยกแยะชนิดของอาหารได้ด้ว

      สัมผัส คนตาบอดจำเป็นต้องใช้การสัมผัสอย่างมากในชีวิตประจำวันทั้ง การเลือกซื้อของจำพวกเสื้อผ้า ผักผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีขนาดและบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน ไปจนถึงแยกแยะจากวัสดุรูปร่างต่าง ๆ

             ปาก บางครั้งที่คนตาบอดตกอยู่ในสถานการณ์ที่ช่วยเหลือตนเองลำบาก การเอ่ยปากถามคนอื่นจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด


            สมอง คนตาบอดมีทักษะความจำเหนือชั้นกว่า เพราะ สมองด้านการมองเห็นมีการปรับตัว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในเยรูซาเลมพบว่า คนตาบอดมีทักษะในการจดจำตำแหน่งสิ่งของที่วางไว้ได้เป็นอย่างดี เอฮุด โซฮารี นักชีววิทยาประสาทจากมหาวิทยาลัยฮีบรูว์ อธิบายว่า การที่คนตาบอดสูญเสียการรับรู้ทางการมองเห็น ทำให้พวกเขารับรู้โลกผ่านประสบการณ์ที่มีการจัดเรียงลำดับเป็นช่วงชุด โซฮารีและคณะผู้วิจัยให้เหตุผลว่า เนื่องจากคนตาบอดใช้ยุทธศาสตร์ในการจดจำสิ่งของ ดังนั้น ยิ่งฝึกก็ยิ่งเก่ง ทำให้คนตาบอดมีทักษะในการจดจำเหนือกว่างานอื่น


            เราจะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าผู้พิการทางสายตาจะไร้ซึ้งดวงตาในการมองเห็น แต่ก็มีสิ่งอื่นมาทดแทนจนบางสิ่งบางอย่างสามารถใช้งานได้ดีกว่าคนตาดีๆอย่างพวกเราด้วยซ้ำไป

Reflection 1 ใจเขาใจเรา

ทำอะไรบ้าง?

มีการจับกลุ่มกันเป็น 4 คน ซึ่งแต่ละคนจะได้เป็น  A B C D เริ่มจาก A จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย และ B,C จะต้องแสดงบทบาทสมมติเป็นคนตาบอด ส่วน D จะเป็นผู้สังเกตการณ์และจดบันทึก โดยตอนต่อไป B จะแสดงเป็นคนตาบอดก่อน คือให้ปิดตาไว้และให้ A กับ C พาเดินจากชั้น9 คณะมนุษยศาสตร์ ไปยังร้านกาแฟของคณะศิลปกรรม หลังจากนั้นตอนเดินกลับมีการเปลี่ยน ให้ C มาแสดงเป็นคนตาบอดแทน แล้วเดินจากร้านกาแฟของคณะศิลปกรรม มายังชั้น 5 คณะมนุษยศาสตร์


เริ่มต้นที่ชั้น 9 




1.ในตอนที่เริ่มเดินมีการพูดคุยกัน ถึงสถานการณ์ในตอนนั้นให้คนตาบอดฟังว่า ข้างหน้าจะมีอะไร คอยบอก หรือเตือน ช่วยระวังในการเดิน



2.เวลาเดินขึ้นหรือลงบันได ผู้ช่วยได้มีการนับขั้นบันไดไว้ ว่ามี 12 ขั้น แล้วก็บอกให้คนตาบอดได้นับไปด้วย


3.บันไดจะมีเส้นที่ขรุขระ ในแต่ละขั้น คนตาบอดก็ได้ใช้ประโยชน์จากตรงนี้ ในการเดินให้ระวังว่าจะหมดขั้นนั้นแล้ว


4.มีการพูดคุยหรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆรอบตัว ให้กับคนตาบอดฟังเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ไม่กังวลมากไป



รู้สึกอะไร อย่างไร

A : ในรับรู้ถึงความลำบากในการดำเนินชีวิตของผู้พิการทางสายตามากขึ้น  และในฐานะที่ได้เป็นผู้ช่วยเหลือ ก็อยากจะหาหนทางที่จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้ได้รับการช่วยเหลือเพื่อด้านต่างๆ อาทิ การบริการสาธารณะ หรือให้ความช่วยเหลือตามความสามารถที่จะช่วยเหลือได้ และอยากให้หน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญต่อผู้พิการทุกประเภท เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยไม่ถูกแบ่งแยกและมีใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

B : ตอนเอาผ้าปิดตา รู้สึกกลัวเพราะมันมืดมาก มองไม่เห็นว่าสิ่งข้างหน้าจะมีอะไรบ้าง ไม่รู้ว่าทางเดินที่เราเดินอยู่ตรงไหนและทางเป็นยังไง ตอนนี้เดินถึงไหนแล้ว คือมีแต่ความกลัว วิตกกังวล ระแวงสิ่งรอบข้าง ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว และเข้าใจรับรู้ถึงความรู้สึกของคนตาบอดว่าเขาต้องเผชิญกับเหตุการณ์ข้างหน้าอย่างไร รับรู้ว่าความรู้สึกถึงการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างกล้าๆกลัวๆ ต้องมีการคิดและวางแผนชีวิตตัวเองอย่างดี ต้องคอยระวังระวัง ป้องกันตัวเองได้ และต้องมีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา อย่างเช่น ตอนเดินลงบันไดคณะ ตอนที่ปิดตา เราก็จะนับขั้นบันไดในใจว่ามีกี่ขั้น ชั้นต่อไปเราจะได้เดินขึ้น-ลงแบบไม่ต้องกลัว

C: รู้สึกอึดอัดมาก เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าข้างหน้าเป็นอะไรกลัวไปหมด กลัวตกหลุมก้าวผิดตกบันไดหรือชนสิ่งของ อยากรู้มากว่าข้างหน้ามีอะไรบ้าง ตื่นเต้นวิตกกังวลรู้สึกว่าคนตาบอดเก่งมากเค้าใช้ชีวิตกันได้ยังไง มืดไปหมดจะเกิดอันตรายกับเราตอนไหนก็ไม่รู้ ใช้ชีวิตคนเดียวไม่ได้แน่ๆ อยากถึงจุดหมายเร็วๆ รู้สึกเวลาเดินช้ามากไกลด้วย ทั้งที่ระยะทางก็ไม่ได้ไกลแต่รู้สึกว่าลำบากไปหมดได้ยินแต่เสียงเพื่อนบอกทางเสียงเดินรับรู้ได้แค่นั้น  เพราะการมองเห็นสำคัญมากถ้าจะต้องพิการจริงๆยอมพิการอย่างอื่นยังจะดีกว่า

D : รู้สึกตื่นเต้นไปกับผู้ช่วยและคนตาบอด ว่าจะสามารถผ่านสิ่งกีดขวางในระหว่างทางและเดินไปถึงจุดหมายได้ไหม แต่แล้วทุกคนก็ทำได้ออกมาดีมาก มีการช่วยเหลือกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ ถึงแม้ว่าอาจจะมีอุปสรรคหรือปัญหาไปบ้างก็ตาม

ปัญหาที่พบ


            1 . ผู้ช่วยบอกกับคนตาบอดไม่ทันถึงเหตุการณ์ข้างหน้าว่ามีทางต่างระดับ
2.   มีการเดินเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย


วิธีการแก้ไขปัญหา
          
            1. ผู้ช่วยก็ต้องมีสติคอยสังเกต และบอกทางให้กับคนตาบอดอย่างเป็นระยะๆ และพูดคุยกับคนตาบอดถึงสถานการณ์ต่างๆรอบตัว คนตาบอดจะได้รับรู้ถึงเหตุการณ์การนั้นร่วมด้วย
2. ในการเดินควรเดินอย่างช้าๆ

ข้อเสนอแนะ
    
         1. ถ้าหากไม่มีผู้ช่วยในการนำทาง เราอาจจะใช้ไม้ในการนำทางแทน หรือสิ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นด้ามยาวๆสามารถจับและคอยเขี่ยสิ่งของข้างหน้าได้
         2. ให้คนตาบอดได้จับราวบันได ในตอนขึ้นหรือลงบันได


สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวปุณยานุช ต้นวิบูลย์ศักดิ์ 55021564 รับบทเป็น C
นางสาวพันธุกสิต คำยอด  55021566          รับบทเป็น A
นางสาวสิริรัตน์ โชติศิริ 55021587               รับบทเป็น B
นางสาวสุภารัตน์ กลางคำ 55021588          รับบทเป็น D

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น